ค้นหาบล็อกนี้

รายการบล็อกของฉัน

15/11/53

Parkinson’s disease (PD)


     


   Parkinson’s disease (PD) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วอาจเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ (Progressive disease) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุเฉลี่ย 55-60 ปี โดยมีอัตราการเกิดที่ 1% อาการที่สำคัญ 4 อย่างของ PD ประกอบด้วย

·     อาการสั่น(Tremor) มักเป็นสิ่งแรกที่ผู้ป่วย PD ประสบและบ่นถึง โดยเฉพาะในขณะพัก (Resting tremor) ยิ่งเครียดก็ยิ่งมีอาการสั่น อาการมักตามมาได้แก่อาการแข็งเกร็ง(Rigidity)
·     อาการแข็งเกร็ง(Rigidity)
·     การเคลื่อนไหวช้า(Bradykinesia) คือ การเคลื่อนไหวได้ช้าหรือไม่เคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า mask face หรือ อาการที่มีใบหน้าเฉยเมย ไม่แสดงความรู้สึก Bradykinesia ยังทำให้การเดินมีปัญหา และทำกิจกรรมได้ช้า
·     การทรงท่าไม่มั่นคง(Postural instability)ทำให้การเดินแกว่งแขนไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี การก้าวขาก็ทำได้สั้นๆ postural reflex ลดลง ทำให้เดินหกล้มได้บ่อย และอาจเกิดอาการที่ไม่ยอมเคลื่อนไหว
·     อาการอื่น ๆ ในระดับกลาง ๆ เช่น กลืนและเปล่งเสียงลำบาก ระบบประสาทอัตโนมัติลดประสิทธิภาพลง อาจมีภาวะ Dementia และระดับสติปัญญาลดลง

         พยาธิสภาพของ PD มีความเกี่ยวข้องกับการสูญเสียของ dopaminergic neurons ในส่วนกลางของ substantia nigra อย่างไรก็ตาม สาเหตุของ PD นั้น ไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน นอกจากคาดว่ากรรมพันธ์และสิ่งแวดล้อม เช่น การดื่มน้ำจากบ่อ การอยู่อาศัยในฟาร์มเกษตร การได้รับสัมผัสสารหรือยาฆ่าแมลง เป็นต้น

การพยากรณ์โรค

        โดยพื้นฐานดูจากอาการทางคลินิก


โปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
  1. แนะนำเทคนิคการนั่ง การยืน การลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง การเคลื่อนไหวบนเตียง
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่น ในพื้นที่แคบและควรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
  3. แนะนำอุปกรณ์ช่วยเพื่อเพิ่มความสามารถในชีวิตประจำวันและเกิดความปลอดภัย เช่น ที่รองเสริมนั่งโถส้วม (Raised toilet seat) ราวจับ และม้านั่งในห้องน้ำ
  4. แนะนำอุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้าชนิดต่าง ๆ
  5. แนะนำอาหารที่รับประทานง่าย เนื่องมาจากปัญหาการกลืนลำบาก
  6. โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
  7. แนะนำการออกกำลังกายใบหน้า การเปล่งเสียง
  8. แนะนำเทคนิคสงวนพลังงานขณะอยู่ที่บ้าน ทั้งกิจกรรมยามว่างและงานต่าง ๆ
  9. ลดกิจกรรมที่ละเอียดมาก (Fine movement)    มาก ๆ เช่น การกลัดกระดุม อาจใช้สายรัด Velcro strap แทน เป็นต้น

โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการแยกตัวและการสื่อสาร
  1. การจัดโปรแกรมนันทนาการ การแนะนำกิจกรรมยามว่างเพื่อลดปัญหาการแยกตัวจากสังคมของผู้ป่วย PD
  2. ให้ข้อมูลและสนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม
  3. แนะนำเครื่องช่วยการติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ที่มีหมายเลขตัวใหญ่ ๆ อุปกรณ์ช่วยเขียน ระบบควบคุมแสงไฟโทรทัศน์ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: