ค้นหาบล็อกนี้

รายการบล็อกของฉัน

14/11/53

Multiple Sclerosis (MS)





              
                Multiple  Sclerosis (MS) เป็นโรคเสื่อมทางระบบประสาทที่พบๆได้บ่อยที่สุดและก่อให้เกิดความหย่อนทางสมรรถภาพ ทางกายได้ทางกายได้ด้วย MS ไม่ได้ทำให้ทุกคนที่มีอาการเป็นผู้พิการหลาย ๆ คนที่เป็น MS ยังคงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ 
                สาเหตุของ MS นั้นยังไม่ทรายแน่ชัด แต่มีหลักฐานว่ายังมีความผิดของระบบ autoimmune และทำให้เกิดความเสียหายต่อ while matter และส่วนของ covering myelin ของระบบประสาทส่วนกลาง อันทำให้มีภยันตรายต่อสมองและไขสันหลัง  ปัจจุบันไม่มีทางรักษา MS ให้หายขาด แต่มีการให้ยาบำบัดพวก corticosteroid anti-information อาจช่วยชะลออาการของโรคลงได้บ้าง


การพยากรณ์โรค
                เกิดในคนอายุ 15 ถึง 50 ปี โดนเฉพาะอายุ 20 ถึง 30 ปี มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ผู้หญิงมีอัตราเสี่ยง 2 ถึง 3 เท่ามากผู้ชาย การพยากรณ์โรค MS นั้น จะดูถึงประวัติผู้ป่วย , ผลของการตรวจทางระบบประสาท (Neurological examination) และ อาการทางคลินิกที่ปรากฏ การมีการอักเสบและทำลายของ myelin และส่วนของ axon ของระบบประสาท อาจก่อให้เกิดอาการทางกายต่าง ๆ เช่น การอ่อนแรงกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึกไม้ดีพอ ทรงตัวลำบาก ความสามารถด้านการมองเห็นลดลง ควบคุมปัสสาวะและอุจจาระลำบาก dysarthria , dysphasia ง่วงงุน อาเจียน ปวดตามร่างกาย เดินสะเปะสะปะ(Ataxic gait) และสั่น(tremor) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการที่พบได้บ่อยใน MS คือ การล้า(fatigue) อาการที่ใช้พยากรณ์เสริม MS ในระยะแรกโดยแพทย์คือการมีปฏิกิริยาอัตโนมัติเร็วกว่าปกติ(Hyperreflexia) , ตรวจพบ Babinski sign , การกะระยะทางผิดพลาดจากการมอง(Dysmetria) ตากระตุก(Nystagmus) และมีความบกพร่องด้านการรับรู้ความรู้สึกของตำแหน่งร่างกาย (Position sensation)


ภาวะทางอารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจภายหลังเป็น MS
                เนื่องจาก MS สามารถเกิดขึ้นได้ในบุคคลวัยอายุทำงาน โดยเฉพาะระหว่าง 20 ถึง 40 ปี ดังนั้น การที่เขาทำงานไม่ได้จึงส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจแน่นอน สถานะทางสังคมมักต้องแยกตัวอยู่ตามลำพัง และเกิดภาวะทางอารมณ์คือความเครียดและซึมเศร้าในที่สุด


โปรแกรมการรักษา
                เนื่องจาก MS เป็นโรคที่เป็นแล้วอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (Progressive disease) ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัดจึงเน้นการรักษาด้านการใช้เทคนิคอื่นทดแทน (Compensation technique) มากกว่าการที่จะมุ่งรักษาเพื่อให้อาการกลับมาดีดังเดิม(Reversing) โดยทั่วไป นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นการรักษาไปยังด้านต่าง ๆ เช่นการแนะนำเทคนิคการทำกิจกรรมแบบประหยัดพลังงาน(Energy conservation techniques) การแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด ระวังเรื่องภาวการณ์เกร็ง(Spasticity) การดูแลเรื่องอุปการณ์ดัดแปลง การปรับสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะพูถึงการรักษาดังนี้
เทคนิคการทำกิจกรรมแบบประหยัดพลังงาน
ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการอ่อนล้า (Fatigue) ได้ง่าย โดยผู้บำบัดถามถึงกิจกรรมที่ผู้ป่วยทำเป็นประจำในแต่ละวัน และแนะนำเทคนิคที่เหมาะสม เช่น
·     ลดสถานการณ์ที่ทำให้ต้องยืน หรือเดินนานๆ โดยการดัดแปลงสภาพของงานหรือสภาพแวดล้อม เช่น ให้นั่ง การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้ล้อเข็นไฟฟ้า  เป็นต้น
·     ให้มีช่วงพักของกล้ามเนื้อในเวลาทำงาน เช่า ถ้าเดิน ให้มีช่วงพักบ้างแล้วจึงเดินต่อ
·     ให้ความรู้กับผู้ป่วยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น จะทำให้ล้ามากขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากการนำกระแสประสาทลดลง อันเป็นผลมาจากการถูกทำลายของเยื้อหุ้มของ CNS
·     ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ความเย็นตลอด เช่น การให้มีเครื่องทำความเย็น (Air conditioner) การใส่เสื้อผ้าบางๆ เลิกใช้น้ำอุ่นอาบ เป็นต้น
·     การทำกิจกรรมที่จำเป็นและสำคัญในตอนเช้า
·     ล้อเข็นอาจมีที่ประคองลำตัวเพื่อให้นั่งสบาย
การให้คำแนะนำ อาจต้องเขียนลงกระดาษและพูดคุยกับผู้ป่วย MS โดนค่อยๆ พูดทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคและแนะนำเทคนิคเหล่านี้


การดัดแปลงอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม

   การดัดแปลงอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของบุคคลเป็นการช่วยทดแทน (Compensation technique) ในกรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรง การเกร็ง(Spasticity)  การสั่น(tremor)  การเดินไม่มั่นคง(Ataxic gait) และปัญหาด้านสติปัญญา(Cognitive function problems) การช่วยให้ผู้พิการคงความสามารถ การทำกิจวัตรประจำวัน อุปกรณ์ดัดแปลง เช่น ล้อเข็นไฟฟ้า มีประโยชน์มากในการเดินทาง(Locomotion) การปรับปรุงสภาพแวดล้อม เช่น ให้ห้องนอนอยู่ใกล้ห้องน้ำ เป็นต้น การเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เปลี่ยนจากการออกกำลังกายหลังเที่ยงมาเป็นออกกำลังการตอนเช้า เป็นต้น

การออกกำลังกาย


ผู้บำบัดต้องจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย MS โดยตระหนักถึงอาการล้าที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีแรง(Limited energy) ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมที่จะออกกำลังกายและเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับอาการหรือปัญหาที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการล้าอาจสับสนว่าในขณะนักกิจกรรมบำบัดแนะนำเทคนิคการสงวนพลังงาน(Energy conservation techniques) ทำไมต้องมีโปรแกรมการออกกำลังกายด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บำบัดที่จะแนะนำช่วงเวลาการออกกำลังกาย เช่น ช่วงเช้า เป็นต้น ส่วนการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น ก็ให้ใช้เทคนิคการสงวนพลังงานในช่วงของเวลาที่เหลือทั้งวัน
โดยทั่วไปผู้ป่วย MS ควรเริ่มออกกำลังกานอย่าค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นทีละน้อยทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ที่ไม่หนักมาก การเขียนวิธีการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายและวิธีปฏิบัติตัวที่บ้านเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เช่น ผู้ป่วยที่มีกำลังขาอยู่บ้าง Thera-band exercise machine อาจเป็นไปได้ แต่อย่าทำจนเกินอาการล้า



การให้โปรแกรมเพื่อลดการเกร็ง (Spasticity Intervention)

นักกิจกรรมบำบัด อาจแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งบนม้านั่ง(Stool) เพื่อลดอาการเกร็งเหยียด(Extensor spasticity) ของขา และให้มีการงอสะโพก(Hip flexion) การแนะนำให้ผู้ป่วยยืนใน standing frame เป็นเวลา 30-60 นาที ที่บ้านทุกวันก็เป็นสิ่งที่ควรทำ



Cognitive Compensation

นักกิจกรรมบำบัด อาจแนะนำ Cognitive Compensation techniques เช่น การให้ทำกิจกรรมทีละอย่าง ใช้เวลามากขึ้นในแต่ละกิจกรรม การปรับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น




Pain Treatment


           การแนะนำเรื่องของท่าทาง(posture) ที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน




Employment Modification
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ในผู้ป่วย MS สิ่งที่ควรแนะนำ เช่น การเปลี่ยนเวลาทำงานมาเป็นช่วงเช้าเสียส่วนใหญ่ หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนที่นานเกิดไป ประยุกต์หลักการของ Ergonomic มาใช้ เช่น เก้าอี้ที่นั่งพอดีและมีที่พักแขน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: