ค้นหาบล็อกนี้

รายการบล็อกของฉัน

15/11/53

Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS)

        
           Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) เป็น Neurodegenerative disease ที่เกิดขึ้นได้ทั้งแบบ Upper Motor Neuron (UMN)และ Lower Motor Neuron (LMN) ALS เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทำให้เกิดความผิดพลาดของ Motor Neuron ซึ่งมีอัตราการเกิดที่ 5 ถึง 8 รายต่อ 100,000 คน และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกอายุ ไม่มีการทดสอบพิเศษใดเพื่อการพยากรณ์โรค ALS อาการเมื่อเริ่มเป็นจะไม่ค่อยแน่นอน สาเหตุการเกิดโรคไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ด้านประสาทวิทยา (Neurologist) จะเป็นผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
           อายุเฉลี่ยที่เกิดโรคคือ 58 ปี อย่างไรก็ตาม แม้อายุเพียง 20 ปี ALS ได้โดยไม่จำกัดเพศ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพจริง ๆ สำหรับโรคนี้การใช้ยาสามารถลดปัญหาการกระตุกเกร็งกล้ามเนื้อ(Fasciculation) ลดความวิตกกังวล การนอนไม่หลับและภาวะน้ำลายไหลย้อย แต่ไม่สามารถระงับการดำเนินโรคได้
            ใน ALS กลุ่ม UMN lesion ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การเกร็งและรีเฟล็กเร็วกว่าปกติ (Hyper-reflexia) ส่วนในกลุ่ม LMN ส่งผลให้เกิด อาการอ่อนแรง มีอาการลีบของกล้ามเนื้อแขนขา การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการแอ่นคอ (Cervical extensor) การกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อ การเป็นตะคริว สูญเสียปฏิกิริยาอัตโนมัติ โดยเฉพาะรีเฟล็กต่าง ๆ นอกจากนี้ การพูด การกลืน และการหายใจอาจได้รับผลกระทบได้จากการถูกทำลายของ bulbar nerves
             อย่างไรก็ตาม การรับความรู้สึก การควบคุมการทำงานของตา การขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโรคของ ALS


การดำเนินโรค

            ค่ามัธยฐาน(Medien) การมีชีวิตอยู่ภายหลังการพยากรณ์โรค ALS คือ 23-52 เดือน อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีชีวิตรอด 5 ปีหรือมากกว่า อาการของโรคสามารถแบ่งเป็น 6 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเล็กน้อย ทำกิจวัตประจำวันได้ เคลื่อนย้ายตัวเองได้
  • ระยะที่ 2มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อระดับปานกลาง และเป็นในกล้ามเนื้อบางมัดเท่านั้น ยังสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้
  • ระยะที่ 3 มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างมากในบางมัด ยังพอสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้
  • ระยะที่ 4มีอาการอ่อนแรงมากของกล้ามเนื้อขา ต้องใช้เก้าอี้ล้อเข็นไปไหนมาไหน ส่วนกิจวัตรประจำวันนั้นยังช่วยเหลือตัวเองได้เป็นส่วนใหญ่
  • ระยะที่ 5ต้องใช้เก้าอี้ล้อเข็นไปไหนมาไหนตลอดเวลา ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน มีอาการอ่อนแรงอย่างมากทั้งแขนและขา
  • ระยะที่ 6ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เลย ต้องนอนอยู่กับเตียงตลอดเวลา ต้องการดูแลอย่างมาก

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

นักกิจกรรมบำบัด ควรได้พูดคุยปรึกษากับผู้ป่วยและครอบครัวของเขาในกระบวนการรักษาต่างๆ เพื่อให้เขาเข้าในถึงกลยุทธ์การรักษา ซึ่งแปรเปลี่ยนไปได้ตามการดำเนินโรค ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจต่อครอบครัวและญาติที่อาจมีความเครียดและซึมเศร้า ข้อพิจารณาพิเศษสำหรับการรักษาโดยใช้การออกกำลังกาย (Exercise)  และการให้อุปกรณ์ดัดแปลง (Adaptive equipment) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนี้


การออกกำลังกาย

Active และ Passive ROM ออกกำลังเพื่อเพิ่มกำลัง ความทนทานและฝึกการหายใจ มีความเหมาะสมในการใช้ในแต่ระยะของ ALS ไม่เหมือนกัน ผู้บำบัดต้องเลือกมาใช้ให้เหมาะสม เพราะในขณะที่โรคกำลังเพิ่มความรุนแรง กิจกรรมง่าย ๆ ที่เคยใช้อยู่อาจกลายเป็นกิจกรรมที่ยากและทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยอย่างมาก


อุปกรณ์ดัดแปลง

การใช้อุปกรณ์ดัดแปลงนั้น ควรเป็นที่ยอมรับของผู้ป่วยและญาติด้วย ผู้บำบัดต้องอธิบายถึงประโยชน์ของอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ดัดแปลงที่ใช้บ่อยในผู้ป่วย ALS เช่น ปลอกพยุงคอ (Neck collar) universal cuff และ ล้อเข็นแบบมีมอเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้







ไม่มีความคิดเห็น: